หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2


อัพเดตล่าสุดเมื่อ 21 กรกฎาคม 2567

 

หอศิลป์และพิพิธภัณท์สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของเอกชนที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เคยเป็นศูนย์อำนวยการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำแควของกองทัพญี่ปุ่นเมื่อครั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นสถานที่เก็บเรื่องราวในครั้งนั้นจัดเป็นพิพิธภัณฑ์ให้ประชาชนเข้าไปชมได้

หอศิลป์และพิพิธภัณฑ์สงครามโลกครั้งที่ 2 แห่งนี้ เป็นอีกสถานที่หนึ่งในหลายๆ สถานที่ที่สร้างขึ้น รวมถึงสะสมสิ่งของเพื่อรำลึกถึงสงครามในครั้งนั้น นักท่องเที่ยวตั้งใจไปที่ไหนหรือไปหลายที่ควรกำหนดให้ดี เพราะอาจมีการเข้าใจผิดว่าเป็นที่เดียวกัน

จุดเริ่มต้นของที่นี่คือปีพ.ศ.2529 คุณอรัญ จันทร์ศิริ ซื้อรถไฟจากการรถไฟ ขบวนที่ญี่ปุ่นยึดไปใช้ขนอาวุธยุทธปัจจัย งานแสดงแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักคือ พิพิธภัณฑ์เก็บสิ่งของ ส่วนหอศิลป์ ตั้งแต่งานวาดจนถึงงานปั้น

ส่วนของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีทั้งด้านนอกอาคารและในอาคาร เพราะสิ่งที่เก็บไว้เป็นหลักฐานมีตั้งแต่รถจักรไอน้ำเก่า รถยนต์รุ่นเก่า เครื่องบิน เฮลิคอปเตอร์ รถจี๊ป รถเก๋ง เกวียน มอเตอร์ไซด์ ซึ่งเป็นของใหญ่ และด้านในจะมีตั้งแต่ข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือน หม้อข้าว เตา ครัว

สื่อสิ่งพิมพ์ และอาวุธในยุคนั้น จัดแสดงในห้องเดียวกันคนละฝั่ง มีชุดเกราะกันกระสุนทหารแสดงอยู่ด้วย ทั้งหมดเก็บรักษาไว้ในตู้กระจก

กระดูกของเชลยสงคราม ภาพถ่ายยุคเก่า ลูกระเบิด หุ่นจำลองทหารญี่ปุ่น หุ่นจำลองเชลยศึก อาวุธต่างๆ จริงๆ จะแบ่งเป็น โซนๆ ธนบัตรที่ใช้ในยุคนั้น หมวกทหาร อาวุธ ปืนสั้น ปืนยาว ดาบซามูไร มีด ทุ่นระเบิด ภาพถ่ายเชลยศึกสงคราม เชลยศึกในสภาพกึ่งเปลือยในห้องขัง แม้แต่กระดูกก็มีเก็บไว้ให้ดู งานสะสมอาวุธสารพัดชนิด มากจนสามารถใช้อ้างอิงกรณีจัดทำสารคดี ภาพยนตร์ ในสมัยนั้นให้ถูกต้องชัดเจนได้เลย

แม้ว่าในพิพิธภัณฑ์และหอศิลป์ จะมีคำบรรยายไทยและอังกฤษในบางส่วน แต่การศึกษาความเป็นมาและเรื่องราวมาก่อนเข้าชม จะทำให้เข้าใจมากขึ้น เพราะบางทีมีแต่ภาพถ่ายเก่าๆ แสดงอยู่

ภาพสมัยสร้างทางรถไฟสายมรณะ ภาพเชลยศึกที่เป็นหลักฐานว่าเหตุการณ์หลายเรื่องที่ถูกบันทึกไว้คือเรื่องจริง อนุสาวรีย์โลงแก้ว กระดูกเชลยศึก 106 คน

ในส่วนของไม้เก่าๆ นั้นเป็นไม้จริงทั้งหมด รถสำหรับขนอุปกรณ์สร้างทางรถไฟ รถรางมือโยกที่ทหารญี่ปุ่นใช้นั่งตรวจงาน

ตู้รถไฟจำลอง คุกขังเชลยศึก อยู่ในส่วนแสดงพาหนะที่ใช้ในยุคนั้น

ถ้าไปถูกช่วงถูกเวลา จะมีมุมที่เห็นรถไฟสายปัจจุบันที่แล่นบนทางรถไฟสายมรณะด้วย

การไปชมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ มีภาพของประวัติศาสตร์ เรื่องราวที่หดหู่ ที่ผู้สร้างพยายามเก็บรวบรวมเอาไว้ในเราได้ระลึกถึง เห็นความโหดร้ายที่มีจุดเริ่มต้นจากคนกลุ่มเล็กๆ ควรเป็นการชมโดยความเคารพแก่เรื่องราวอย่างสงบ ไว้อาลัย เก็บข้อคิดไว้เตือนใจตน

ที่ตั้ง

เชิงสะพานข้ามแม่น้ำแคว ตำบลท่ามะขาม อำเภอเมือง จ.กาญจนบุรี  71000