รวมวิธีการเดินทางต่างๆในเมืองเบอร์ลิน


ถ้าคุณกำลังจะเดินทางไปกรุงเบอร์ลิน ประเทศเยอรมัน มาศึกษาวิธีเดินทางกันก่อน

การเดินทางเข้าสู่เบอร์ลิน


เดินทางโดยเครื่องบิน มีสายการบินหลายสายจากกรุงเทพฯ แต่ต้องไปลงที่เมืองอื่น เช่น Frankfurt อาบูดาบี้ โคโลญจ์ ออสโล ขึ้นอยู่กับว่าจะเลือกเดินทางกับสายการบินใด สนามบินที่เข้าเมืองได้ง่ายคือ สนามบินเทเกล (TEGEL)

การเดินทางในเบอร์ลิน


กรณีที่ต้องการเที่ยวในเบอร์ลิน ควรเลือกที่พักที่ใกล้สถานีรถไฟ เพราะจะเดินทางต่ออย่างสะดวก
1. เดินทางโดยแท็กซี่ ต้องเตรียมงบประมาณไว้มากหน่อย เพราะแท็กซี่ในเบอร์ลินค่าบริการสูงกว่าในเมืองไทยมาก แท็กซี่กลางคืนแพงขึ้นไปอีก
สำหรับการเดินทางอื่นๆ ให้เช็คตารางเดินรถได้จาก http://www.bvg.de/index.php/en/index.html

2. การเดินทางโดยรถบัสสาธารณะ แบ่งออกเป็นหลายประเภท ตั้งแต่
2.1 รถโดยสารธรรมดา เลขสาย 100-399 เป็นรถที่วิ่งในเขตและข้ามเขต มีทั้งรถตอนเดียวรถพ่วง และรถสองชั้น
2.2 MetroBus มี 17 เส้นทาง เป็นรถบริการ 24 ชั่วโมง เลขสายขึ้นต้นด้วย M
2.3 ExpressBus รถเมล์ด่วน จอดน้อยป้าย มี13 เส้นทาง เป็นรถจากนอกเมืองเพื่อเข้าเมือง จากสนามบินเข้าเมือง เมืองไปสนามบิน ใช้เลขสายขึ้นต้นด้วย X
2.4 รถ NightBus มี 45 เส้นทาง วิ่งกลางคืนเพื่อทดแทนเส้นทางรถไฟใต้ดิน U-Bahn เลขสายขึ้นต้นด้วย N

3. การเดินทางด้วยรถราง (Tram) ซื้อตั๋วที่สถานี s-bahn เป็นลักษณะหยอดเงินกดตั๋ว หรือบางคันก็จะมีการซื้อบนรถได้ จอดตามสถานีที่กำหนด มี Berlin MetroTram line M4 รายละเอียดสถานี https://th.foursquare.com/colorfullife/list/berlin-metrotram-line-m4 , Berlin tram stops (A-L) รายละเอียดสถานี https://th.foursquare.com/colorfullife/list/berlin-tram-stops-al

4. การเดินทางด้วยรถไฟ การเดินทางโดยรถไฟ สถานีรถไฟกลางของเบอร์ลินคือ Berlin Hbf
4.1 รถไฟใต้ดิน (U-Bahn) มี 10 เส้นทาง คือ 1. อูลันท์ชตรัสเซอ – วาร์เชาเออร์ชตรัสเซอร์ 2. พังโค – รูเลเบิน 3. น็อลเลินด็อร์ฟพลัทซ์ – ครุมเมอลังเคอ 4. น็อลเลินด็อร์ฟพลัทซ์ – อินน์สบรุคเคอร์พลัทซ์ 5. อาเล็คซันเดอร์พลัทซ์ – เฮอโน 6. เฮาพท์บานโฮฟ – บรันเดินบัวร์เกอร์โทร์ 7. อัลท์-เทเกิล – อัลท์-มารีเอินด็อร์ฟ 8. ราทเฮาส์ชปันเดา – รูโด 9. วิทเทอเนา – แฮร์มันน์ชตรัสเซอ 10. ราทเฮาส์ชเตกลิทซ์ – อ็อสโลเออร์ชตรัสเซอ
4.2 รถไฟชานเมือง (S-Bahn) มี 14 เส้นทาง คือ
1. เอส 1 จากวันน์เซ-โอราเนียนบวร์ก
2. เอส 2 บลังเคินเฟลเดอ-แบร์เนา
3. เอส 3 แอร์คเนอร์-อ็อสท์คร็อยซ์
4. เอส 5 ชปันเดา-ชเตราส์แบร์กน็อร์ท
5. เอส 8 กรือเนา-เบียร์เคินแวร์เดอร์
6. เอส 9 เบอร์ลิน-เชอเนอเฟ็ลท์-พังโค
7. เอส 25 เท็ล โทชตัท-เฮ็นนิชส์ด็อร์ฟ
8. เอส 41 ซีทคร็อยซ์ วิ่งวนตามเข็มนาฬิกา
9. เอส 42 ซีทคร็อยซ์ เช่นกัน แต่วิ่งวนทวนเข็มนาฬิกา
10. เอส 45 เบอร์ลิน-เชอเนอเฟ็ลท์-ซีทคร็อยซ์
11. เอส 46 เคอนิชส์วุส เทอร์เฮาเซิน-เว็สท์เอ็นท์
12. เอส 47 ชปินดเลอร์เฟ็ลท์-แฮร์มันน์ชตรัสเซอ
13. เอส 57 อาเรินส์เฟ็ลเดอ-พ็อทส์ดัมเฮาพท์บานโฮฟ
14. เอส 75 วาร์เทินบวร์ก-เว็สท์คร็อยซ์
4.3 รถไฟข้ามเมือง (InterCity) หรือย่อว่า IC เป็นรถไฟวิ่งจากเบอร์ลิน-โคโลญ
4.4 รถไฟข้ามเมืองด่วน (ICE) เป็นรถไฟความเร็วสูง มีทั้งวิ่งในเมือง และไปถึงเมืองอื่น
4.5 รถไฟท้องถิ่น Regional-Express (RE) และ Regionalbahn (RB)

 

การซื้อตั๋วในเบอร์ลิน จะมีถ้าซื้อตั๋วตั๋วธรรมดาสำหรับเดินทางไม่เกิน 2 ชั่วโมง ตั๋ววัน Tageskarte (Day Ticket) ที่ใช้ได้ถึงเวลา 3 นาฬิกาของวันใหม่ ตั๋วเดือนก็มี ถ้าเที่ยวเฉพาะในเบอร์ลินก็เลือกโซน AB ตั๋วใบเดียวใช้ได้ทั้ง รถไฟใต้ดิน (U-Bahn) รถไฟชานเมือง (S-Bahn) และรถบัส


Exit mobile version