อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ แหล่งฟอกปอด สูดโอโซน ใกล้กรุงเทพ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่(Khoayai National Park) เป็นอุทยานขนาดใหญ่ที่นักท่องเที่ยวไทยรู้จักเป็นอย่างดี ด้วยพื้นที่ที่ครอบคลุมถึง 4 จังหวัด มีแหล่งท่องเที่ยวหลายรูปแบบ และมีอากาศเย็นสบายตลอดปี ที่สำคัญไม่ไกลจากกรุงเทพฯ มากนัก
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่กินพื้นที่จังหวัดสระบุรี นครราชสีมา ปราจีนบุรี และนครนายก แต่ดูเหมือนคนจะคุ้นเคยกับเขาใหญ่ โคราช มากกว่าจังหวัดอื่น
รสนิยมของคนที่ชื่นชอบป่าเขามีหลายสไตล์ตามความหลายหลากของพื้นที่ มีทั้งชื่นชอบอากาศที่ค่อนข้างเย็นสบาย ไม่ต้องไปไกลถึงภาคเหนือก็สัมผัสอากาศสบายได้ วิวทิวทัศน์ก็สวยงาม ได้ใกล้ชิดธรรมชาติ ถ้ำ น้ำตก ไฮไลต์ของอุทยานมีครบครัน การเดินป่าชื่นชมธรรมชาติ ต้นไม้ใหญ่ ดอกไม้ เสียงนกร้อง และส่องสัตว์ในยามค่ำคืน เสน่ห์เฉพาะตัวสำหรับคนนิยมทางนี้จริงๆ ทำให้เขาใหญ่มีโอกาสต้อนรับสมาชิกขาเที่ยวทุกเพศทุกวัย
เที่ยวน้ำตกสวยๆ ที่ไม่ต้องเดินทางไกล ต้องไปที่นี่เลย น้ำตกบางที่สวยแต่น่ากลัวอย่างน้ำตกเหวนรก แต่ก็มีอีกหลายน้ำตกที่มีพื้นที่ให้เล่นน้ำได้ ชอบที่ไหน เลือกที่นั่นได้เลย ไม่ว่าจะเป็น น้ำตกเหวนรก สวย/สูงกว่า 150 เมตร และยังมีน้ำตกเหวไทร น้ำตกผากล้วยไม้ น้ำตกเหวประทุน ถ้าอยากเล่นน้ำตก ควรเลือกน้ำตกกองแก้ว
ไปเขาใหญ่ อย่าได้พลาดการส่องสัตว์ จะออกรอบค่ำ อาศัยไฟฉายไปส่องแบบเสี่ยงว่าจะเจอมั้ย ก็ลุ้นดี เหมาะกับคนชอบท้าทาย แต่คนที่ชอบแบบมีโอกาสเห็นมากกว่า จะเลือกส่องที่หอชมสัตว์ ที่ถูกสร้างขึ้นในจุดที่มองเห็นสัตว์มาหาอาหารเป็นประจำ แถวแหล่งน้ำ ดินโป่ง และทุ่งหญ้า ที่หอชมสัตว์นี้ มีบริการตั้งแต่เช้าตรู่ 6 โมง และไปสิ้นสุดเวลา 6 โมงเย็นเลยทีเดียว ชอบแบบไหน ท้าทาย หรือซุ่มชม ก็เลือกตามรสนิยมได้เลย
สายชมธรรมชาติ รสนิยมของคนชอบเที่ยวภูเขาก็คือความชื่นชอบธรรมชาติ ต้นไม้ วิวมุมกว้างที่มองจากข้างบนลงมา ชมวิวยามอาทิตย์ขึ้น อาทิตย์ตก มีหลายจุดที่ทางอุทยานจัดเอาไว้สำหรับชมวิว ที่โดดเด่นคือที่ผาเดียวดาย ทิวทัศน์เขาเขียวที่มีความคล้ายผานกเค้า ภูกระดึง ชมอาทิตย์ขึ้นที่นี่ ดวงกลมแดงสวย ทิวทัศน์ก็งดงาม
เป็นความชื่นชอบของคนชอบเดินป่า เขาใหญ่เต็มไปด้วยป่าไม้ที่ได้รับการดูแลให้สมบูรณ์ ทั้งป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง/ดงดิบชื้น ป่าดิบเขา ฯลฯ และยังมีนกแปลกตา หาดูยาก เช่น นกเงือกกรามช้าง นกกก นกแก๊ก นกพญาไฟ นกเงือกน้ำตาล นกขุนแผน นกสวย ๆ นกแต้วแล้ว นกโพระดก นกแซงแซว นกกกระปูด ไก่ฟ้า ผีเสื้อสวยๆ หลายร้อยชนิด หาประสบการณ์และสัมผัสธรรมชาติ จึงไม่แปลกที่มีกลุ่มนักเรียนมากันเป็นหมู่คณะ
เมื่อไปเขาใหญ่ มีความเชื่อเรื่องเจ้าป่าเจ้าเขา การเคารพสักการะเพื่อความปลอดภัยจึงมีเป็นธรรมดา ศาลเจ้าพ่อเขาใหญ่ อยู่คู่กับอุทยานแห่งชาติ มีคนไปกราบขอพร ขอให้มีโชคมีลาภบ้าง
ไม่ว่าคุณจะเป็นนักท่องเที่ยวสายไหน อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ก็ยังน่าไปอยู่ดี
▌ลักษณะภูมิอากาศ
อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่มีสภาพป่าที่รกทึบ และได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมทำให้เกิดฝนตกชุกตามฤดูกาล อากาศไม่ร้อนจัด และหนาวจัดจนเกินไป เหมาะแก่การท่องเที่ยวและประกอบกิจกรรมนันทนาการชนิดต่างๆ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ประมาณ 28 องศาเซลเซียส ในเืดือนธันวาคมและเดือนมกราคม มีอุณหภูมิประมาณ 17 องศาเซลเซียส และมีความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยของอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่เท่ากับ 66 เปอร์เซ็นต์
– ฤดูร้อน : แม้ว่าอากาศจะร้อนอบอ้าวกว่าในที่อื่น แต่ที่เขาสูงบนเขาใหญ่อากาศเย็นสบายเหมาะแก่การพักผ่อน
– ฤดูฝน : เป็นช่วงที่สภาพธรรมชาติ ป่าไม้ และทุ่งหญ้าเขียวขจี สวยงาม น้ำตกต่างๆจะมีสายน้ำที่ไหลหลากและเชี่ยวกราก
– ฤดูหนาว : ช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนกุมภาพันธ์ เป็นฤดูที่นักท่องเที่ยวมากที่สุด อากาศค่อนข้างเย็น โดยเฉพาะบริเวณเขาสูง
ที่ทำการอุทยานแห่งชาติ จากฝั่งทางขึ้นปากช่อง
น้ำตกเหวสุวัต
เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกกองแก้ว
เส้นทางศึกษาธรรมชาติน้ำตกผากล้วยไม้
หอส่องสัตว์หนองผักชี
อ่างเก็บน้ำสายศร
น้ำตกเหวนรก ชั้น 1, 2, 3
จุดชมวิว
▌พืชพรรณและสัตว์ป่า
มีความหลากหลายของชนิดพรรณพิชดังนี้
– พรรณไม้ จำนวน 209 ชนิด
– กล้วยไม้ จำนวน 120 ชนิด
– ไลเคน จำนวน 108 ชนิด- ป่าดิบเขา (Hill Evergreen Forest)
อยู่ในที่ที่มีอากาศเย็น สูงจากระดับน้ำทะเล 1,000 เมตรขึ้นไป พบที่บริเวณเขาเขียว วึ่งอยู่ตอนกลางของอุทยาน มีพื้นที่ประมาณ 21,938.71 ไร่ หรือร้อยละ 1.63 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ไม้ที่พบเป็นไม้เนื้ออ่อน เช่น พญาไม้ มะขามป้อมดง ขุนไม้ และสนสามพันปี มีไม้จำพวกก่อขึ้นอยู่ด้วย ได้แก่ ก่อน้ำ และก่อด่าง ตามสันเขายังพบพรรณไม้พวกกำลังเสือโคร่ง
ไม้ชั้นรองของป่าดิบเขาประกอบด้วย เก็ดส้าน ส้มแปะ แกนมอ เพลาจังหัน และหว้า พืชชั้นล่างเป็นพวกไม้พุ่มชนิดต่างๆ เช่น กาลังกาสาตัวผู้ นอกจากนี้ยังมีกูด และกล้วยไม้ดินหลายชนิด ตามลำต้นและกิ่งก้านของต้นไม้ป่าดิบเขา จะถูกปกคลุมด้วย กล้วยไม้ และตะไคร่น้ำต่างๆ- ป่าดิบชื้น (Moist Evergreen Forest)
อยู่ในระดับความสูง 400 – 1,000 เมตร จากระดับน้ำทะเล ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุดของอุทยาน คือ 892,162.48 ไร่ หรือประมาณร้อยละ 66.36 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ริมลำธารจะมีหวายและเฟิร์นขึ้นอยู่เป็นกลุ่ม สูงขึ้นไปจะมีไม้ยาง และไม้ชั้นบน เช่น เคี่ยมคะนอง ปรก บรมือ ไม้ชั้นรอง ได้แก่ ก่อต่างๆ- ป่าดิบแล้ง (Dry Evergreen Forest)
อยู่ในระดับความสูง 200 – 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีพื้นที่ประมาณ 1,192.88 ไร่ หรือร้อยละ 0.9 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ไม้ชั้นบน ได้แก่ ยางนา พันจำ เคี่ยมคะนอง ตะเคียนทอง ตะเคียนหิน ตะแบกใหญ่ สมพง สองสลึง ปออีเก้ง เป็นต้น ไม้ยืนต้นชั้นรอง เช่น กะเบากลัก กัดลิ้น พืชจำพวกปาล์ม เช่น หมากลิง และลาน พืชชั้นล่างประกอบด้วย มะพร้าว นกคุ้ม พวกขิง ข่า และเตย เป็นต้น- ป่าเบญจพรรณ (Mixed Deciduous Forest)
พบในระดับความสูงประมาณ 400 – 600 เมตร จากระดับน้ำทะเล มีพื้นที่โดยประมาณ 185,275.91 ไร่ หรือร้อยละ 13.78 ของพื้นที่ป่าทั้งหมด ปรากฏส่วนใหญ่ในทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ประกอบด้วยไม้ยืนต้นผลัดใบ เช่น มะค่าโมง ประดู่ ตะแบก ตะเคียนหนู แดง เป็นต้น พืชชั้นล่างมี ไม้ไผ่ และหญ้าต่างๆ ตามพื้นป่าจะมีหินปูนผลุดขึ้นทั่วๆไป ในฤดูแล้งป่าชนิดนี้จะมีไฟไหม้ลุกลามอยู่เสมอ จะสังเกตได้จากมีไผ่ป่า เป็นปริมาณมากตามลาดเขาและกล้วยป่าขึ้นหนาแน่นตามหุบห้วย
– ป่าเต็งรัง
ขึ้นอยู่บนเขาสมอปูน ที่มีลักษณะเป็นที่ราบบนสันเขาผสมพลาญหิน พรรณพืชที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง รัง เหียง พลวง และยางกราด
– ทุ่งหญ้าและป่ารุ่นสอง
มีพื้นที่ประมาณ 70.15 ไร่ และ 129,219.65 ไร่ ตามลำดับ สภาพป่าเช่นนี้เป็นผลสืบเนื่องมาจากการทำไร่เลื่อนลอยในอดีต เพราะก่อนหน้าที่จะมีการประกาศพื้นที่นี้เป็นอุทยานแห่งชาติ ได้มีประชาชนอพยพขึ้นไปอาศัยอยู่ จึงได้เกิดสภาพป่าเช่นนี้ขึ้น ตามทุ่งหญ้านั้นพืชส่วนใหญ่เป็นหญ้าคา มีหญ้าแขม หญ้ากง หญ้าผลตาช้าง และหญ้าโขมงขึ้นแทรก นอกจากนี้ก็มีผีกกูดบางชนิดที่ชอบขึ้นตามบริเวณที่ถูกไฟไหม้เป็นประจำ เป็นที่น่าสังเกตว่า หลังจากที่ได้ประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติมาได้เป็นเวลากว่า 10 ปีนั้น ทุ่งหญ้าบางแห่งที่ได้ป้องกันไม่ให้ไฟลามเข้ามาไหม้นั้น ได้กลับฟื้นขึ้นมาเป็นสภาพป่าละเมาะ ซึ่งในกาลต่อไปย่อมจะฟื้นกลับขึ้นเป็นป่าได้ดังเดิม สำหรับตามสองข้างถนนนั้น เนื่องจากไม่มีการก่อสร้างขยายวงออกไป จึงได้มีพันธุ์ไม้โตเร็วชนิดต่างๆ ขึ้นปกคลุม เช่น ไม้ตองแตม และปอหู เป็นต้น
ส่วนในด้านของสังคมสัตว์ ด้วยสภาพป่าที่มีความหลากหลาย เป็นแหล่งพักพิงอาศัย และแหล่งอาหาร อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ดังนี้
– สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
มีประมาณ 71 ชนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่พบเห็นได้บ่อยและเป็นที่ดึงดูดใจนักท่องเที่ยว ได้แก่ ช้างป่า เก้ง กวาง เป็นต้น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ และเป็นชนิดที่สำคัญขอลอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ได้แก่ ช้างป่า เสือโคร่ง เสือลายเมฆ กระทิง ชะนีมือขาว และชะนีมงกุฎ เป็นต้น
สำหรับสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นๆ ได้แก่ กระรอก (รวมทั้งพญากระรอกดำ) และชะมดชนิดต่างๆ ชะมดพบเห็นได้ง่ายตามข้างถนนในยามค่ำคืน หมีขอ บางครั้งพบกำลังนอนหลับบนยอดไม้สูงในตอนกลางวัน แมวลายและแมวลายหินอ่อน ซึ่งมีอยู่ไม่มากนัก นานๆครั้งจะเห็นวิ่งข้ามถนนในเวลากลางคืน นอกจากนั้นยังพบว่ามี หมีควาย และ หมาใน แต่จะปรากฏตัวให้เห็นเฉพาะบางครั้งเท่านั้น- สัตว์เลื้อยคลาน (Reptile) มีประมาณ 48 ชนิด ที่พบเห็นโดยทั่วไปได้แก่ กิ้งก่าสวน จิ้งเหลนหลากหลาย และงูเขียวหางไหม้ ส่วนงูเห่า และงูจงอาง มีปรากฏให้เห็นบ้างในบางพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณพุ่มไม้ชั้นล่าง- สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก (Amphibian) ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มพวก กบ ชนิดต่างๆ เช่น กบนา กบหนอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบสัตว์ในกลุ่มอึ่งจิ๋ว เช่น อึ่งขาดำ อึ่งจิ๋ว เป็นต้น- นก
มีไม่ต่ำกว่า 340 ชนิด ที่น่าสนใจ ได้แก่ นกเงือกกรามช้าง นกกก นกเงือกสีน้ำตาล นกแก๊ก นอกจากนี้ยังมี นกโกโรโกโส นกพญาไฟ นกแต้วแล้วสีน้ำเงิน นกขุนแผน ฯลฯ
▌การค้างแรมบนอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่
ที่อยู่
ตำบลหมูสี อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา 30130 ปากช่อง นครราชสีมา 30130
เที่ยวเขาใหญ่ ธรรมชาติสวยงาม อากาศสดชื่น